Saturday, January 14, 2006

ดูหนังฟรี ที่ Google Video

เป็นบริการใหม่จากกูเกิ้ลครับ เพิ่งเปิดมาได้ไม่กี่วันนี้เอง
ไฟล์ที่ปรากฏบนเว็บต้องดูผ่านโปรแกรม Macromedia Flash 7.0 ซึ่งเขามีให้ดาวน์โหลดได้ฟรี
บังเอิญผมใช้ ADSL ที่ไม่ได้เร็วมาก จึงใช้เวลาดาวน์โหลดนานพอสมควร แต่ทางกูเกิ้ลก็เข้าใจปัญหานี้ดี เลยแบ่งเรื่องราวเป็น 6 ช่วง ตามวินโดวส์ข้างๆ ให้เราค่อยๆโหลดมาดูทีละช่วง

ภาพยนตร์เรื่องนี้ Waterborne จัดเป็นหนังเรื่องแรกที่เลือกเปิดตัวออกสู่สาธารณะโดย Google Video ผมได้ดูจนจบ
มีความคิดเห็นหลายประการ เอาไว้ว่างๆจะเขียนถึง

http://video.google.com/videoplay?docid=-1607114503824678810&q=waterborne

สำหรับท่านที่สนใจจะส่งผลงานหนังสั้น/โฮมวิดีโอ/ไฟล์วิดีโอ ฯลฯ ขึ้นไปบน Google Video เห็นว่าต้องรอให้ทีมงานเขาสกรีนดูก่อนสักสามสี่วัน แต่ระยะเวลานี้อาจเพิ่มมากขึ้น เพราะนี่เป็นแค่ช่วงเปิดตัว ดีไม่ดี วันข้างหน้ามีไฟล์ต่างๆถูกส่งมาให้ดูกันวันละหมื่นๆไฟล์ สงสัยคนพิจารณาคงดูกันจนตาแฉะ

Sunday, January 08, 2006

กรุงเทพฯ 2006

ห่างหายจากการอัพไดฯ (ศัพท์เทคนิค ของคุณยีบัด) เพราะไม่รู้จะเอาอะไรมาอัพ เรื่องราวรอบตัวล้วนน่าเบื่อ

เรื่องนํ้าท่วมแถวหน้าบ้านผมก็ตื่นเต้นดีอยู่หรอก แต่ก็ไม่ลุ้นกันสุดๆว่ามันจะหยุดขึ้นเมื่อไหร่ เพราะขึ้นมาได้แค่ตาตุ่ม
ปีนี้นํ้าไม่เข้าเมืองหาดใหญ่ ด้วยโครงการระบายนํ้าในพระราชดำริโดยแท้เลยครับ แต่ก็ต้องนับถือนํ้าใจชาวหาดใหญ่ที่อยู่นอกเมือง เพราะต้องรับนํ้าไหลผ่านไปในปริมาณมากกว่าที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ร้ายแรงแบบที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ ปี พศ. 2543
ส่วนมนุษย์หน้าเหลี่ยมๆที่มาเสนอหน้าออกทีวีแว่บๆ แสดงสีหน้าแบบเสียไม่ได้ แถมพูดคำกระแนะกระแหนชาวบ้านเขาอีกสิบคำน่ะ-ไม่ได้ทำอะไรเลยครับ มาสร้างภาพแท้ๆ เพื่อนรุ่นพี่ผมเป็นคนเตรียมแทรกเตอร์ให้ไปพังทางรถไฟตามที่เขาให้ข่าว แต่ไปๆมาๆไม่กล้า เพราะชาวบ้านในอีกพื้นที่ที่ต้องรับนํ้าเพิ่มมากขึ้นไม่ยอม

ปีใหม่ปีนี้ ผ่านไปอย่างธรรมดาสามัญ แต่หนวกหูเสียงประทัดเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา ตามประสาคนเมือง

ผมมีโอกาสแว่บไปเมืองกรุงฯเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ไม่ได้มีกิจสำคัญอันใดมากมาย นอกจากการเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ และทำธุระนิดหน่อย

เมื่อเสร็จสินภารกิจทั้งหลาย เล็งไว้แล้วว่าต้องไปเยื่อนที่นี่ให้ได้ครับ เห็นเขาโฆษณากันใหญ่โต Thailand Creative & Design Center http://www.tcdc.or.th/


ทราบมาก่อนหน้านี้แล้วครับว่า การไปเยือน TCDC นี้สำหรับบุคคลภายนอกจะกระทำได้ครั้งเดียวเท่านั้น และหลังจากที่ท่านได้ยลโฉมเธอเสร็จแล้ว ก็ต้องตัดสินใจลาจาก หากหมายมาดว่าจะมาเยือนอีกครั้ง จะต้องเสียค่าสมาชิก

ผมเอง มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ก็เลยสอบถามเจ้าหน้าที่เขาไปว่า สำหรับคนอยู่ต่างจังหวัด คงไม่ได้เข้ากรุงเทพฯบ่อยๆ น่าจะมีระบบบัตรผ่านประตูนะครับ คำตอบที่ได้รับแบบยิ้มของคนกรุงเทพฯ คือ ต้องเสียค่าสมาชิกอย่างเดียวค่ะ

หลังจากนั้นก็ประกอบพิธีการแลกบัตร/ทำบัตรผ่าน บรรยากาศภายในโอ่อ่าราคาแพง เต็มไปด้วยหนังสือว่าด้วยการออกแบบ ถ่ายภาพ กราฟิคดีไซน์ เจ๋งเป้งสุดๆ แต่ขอโทษ ไม่ให้ยืมกลับบ้านนะเพื่อน อยากดูต้องมานั่งอ่านเองที่นี่ อยากจะแอพพลาย อินทิเกรด ก็อป ฯลฯ ...ไอเดียอะไรก็ต้องกระทำกันแต่ที่นี่เท่านั้น เข้าใจว่าหนังสือคงแพงละนะ ก็เลยต้องทะนุถนอม แต่คิดอีกทางหนึ่ง มันก็ทำลายความอบอุ่น ความไว้เนื้อเชื่อใจในธรรมเนียมปฏิบัติแบบห้องสมุดไปอย่างช่วยไม่ได้

ผมไม่ได้ใช้เวลาพลิกดูหนังสือในห้องสมุดของ TCDC มากมายนัก เห็นสันปกบางเล่มก็พอจำได้ว่าเคยยืนพลิกจนเมื่อยข้อมาบ้างแล้วไม่ว่าจะเป็นที่เอเชียบุ๊คส์ หรือ คิโนะคูนิยะ ก็เลยเดินตรงเข้าไปแผนกที่อยู่ด้านในสุดที่เป็นห้องแสดงวัสดุใหม่ๆสำหรับการออกแบบ เอ่ยปากขออนุญาติเข้าชม เจ้าหน้าที่ก็ยินดีเปิดให้ชมครับ

สำหรับความคิดของผม ห้องแสดงวัสดุของ TCDC น่าจะเป็นส่วนที่น่าสนใจมากที่สุด เป็นไอเดียที่เข้าท่ามากที่สุดของที่นี่ เพราะมันช่วยเปิดโลกทัศน์ทางการออกแบบให้ไปไกลกว่ากระดาษ ปากกา ดินสอ สี หรือโปรแกรมการออกแบบต่างๆ เท่าที่ผ่านมา เรามักคิดว่า การออกแบบเป็นหน้าที่ของสถาปนิก ดีไซเนอร์ หรือมัณฑนากร เราไม่ค่อยรู้สึกว่า นักวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเคมี หรือ แม้กระทั่งบุคลากรในวิชาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ตำรวจ ทหาร ฯลฯ จะสามารถเป็นนักออกแบบได้ แต่วัสดุต่างๆนานาที่ปรากฏในห้องแสดงวัสดุต่างๆเหล่านี้นี้ มันทำให้เราได้ตระหนักทันทีว่า งานด้านการออกแบบสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคลากรในทุกสาขาวิชาชีพ ขอเพียงมีความคิดสร้างสรรค์ เห็นประโยชน์เชิงโครงสร้างและกายภาพของวัสดุ รู้จักคิด ประยุกต์ และสามารถทำงานร่วมกับผู้มีความรู้ในแขนงวิชาสาขาต่างๆที่เอื้อประโยชน์แก่กันได้

ขออนุญาต เล่าข้าม ข้าวซอยที่ชิดลม กับ ต้มยำกุ้ง และยำมะเขือเผา ร้านหน้าปากซอยทองหล่อ ไปหน่อยนะครับ

...และแล้วก็มาถึง ห้างใหญ่กลางเมือง สยามพาราก้น เอ้ย พาราก้อน : )
ตัวอาคารด้านนอก เชยมากๆครับ ขอบอก - เทียบไม่ได้กับเซ็นทรัลเวิร์ลพลาซ่าที่เห็นโครงสร้างอยู่ใกล้ๆเลยละครับ
ถ้าเซ็นทรัลเวิร์ลฯ เปิดเมื่อไหร่ พาราก้อน คงดูไม่จืด (แต่ผมก็'เม้นไปงั้นเองละนะ เพราะคงไม่ได้ตื่นเต้นอะไรไปกับเขามากมาย)
ภายในโอ่โถงโล่งสบายครับ ทางเดินกว้างดี อย่างหนึ่งที่รู้สึกได้เลย คือผมคิดว่า ผู้ที่ใช้วีลแชร์คงชอบมาก (ไม่ทันได้สังเกตเรื่องขั้นบันไดต่างๆ แต่ที่ร้านหนังสือ คิโนะฯ กับเอเชียบุ๊คส์ รู้สึกจะไม่ได้เตรียมตรงนี้ไว้ให้)
ร้านอาหารหรูหราดี แต่ข้าวขาหมูไม่อร่อย (จำชื่อร้านไม่ได้) แล้วอย่าได้หลงเข้าไปในดีพาร์ทเมนท์สโตร์ล่ะเพื่อน ..เป็นได้หาทางออกไม่เจอ

สยามโอเชี่ยนเวิร์ล ผมก็ยังไม่ได้เข้าไปดูนะครับ เพราะอ่านที่ อ.ธรณ์ฯ เขียนบอกว่า ปลาตายค่อนข้างมาก และยังไม่ค่อยมีของแปลกให้ดูเท่าไหร่

กล่าวโดยสรุป ที่สยามพาราก้อน แทบจะไม่ได้เดินไปที่ไหนมากมาย นอกจากร้านหนังสือ
ขอแสดงความยินดีกับเพื่อนนักอ่าน นักพลิกๆดูหนังสือสวยๆชาวกรุงฯ เพราะคิโนะคูนิยะที่นี่ ใหญ่พอๆกับที่สิงคโปร์เลยครับ แถมได้มุมดีมาก โดยเฉพาะแผนก หนังสือศิลปะ+ภาพถ่ายที่เปิดกว้างให้เห็นวิวข้างนอก วัดปทุมวนาราม - โอเอซิสใจกลางกรุงเทพฯ เล่นเอาเอเชียบุ๊คส์ที่ก็ลงทุนเปิดใหญ่กว่าสาขาอื่นแล้วจ๋อยไปถนัดตาเลย

หนังสือกราฟิคฯหลายเล่มที่คิโนะคูนิยะ ราคาถูกกว่าเอเชียบุ๊คส์ครับ น้องๆที่ให้บริการช่วยหาหนังสือก็น่ารักดีคนซื้อหาหนังสือไม่เจอ คนขายก็(ยัง)หาไม่(ค่อย)เจอ เพราะร้านเพิ่งเปิดใหม่...ไม่ว่ากัน

มีเรื่องชํ้าใจประการหนึ่ง เกิดขึ้นที่หน้าสยามพาราก้อน ไม่เล่าคงไม่ได้ ด้วยความที่แดดบ่ายของศุกร์นั้นมันสวยเหลือใจ แถมลานหน้าพาราก้อนเขามีนํ้าพุ ผู้คนเดินกันขวักไขว่ ผมก็เลยเผ่นลงไปซูเปอร์ฯที่อยู่ชั้นใต้ดิน ว่าจะไปสอยเบียร์เย็นๆมาสักสองสามป๋อง ดื่มไป นั่งดูผู้คนไป คงเป็นการทอดหุ่ยคลายร้อนแบบเท่ๆเข้ากับสถานที่ ....บรรจงเลือกป๋องเย็นๆ เฉียบๆมาสองป๋อง รีบเผ่นไปยังเคาน์เตอร์คิดเงิน เพื่อย่นระยะเวลาสูญเสียไอเย็นในป๋องเบียร์

"ขอโทษค่ะ...ยังขายเบียร์ไม่ได้ จนกว่าจะถึงเวลาห้าโมงเย็นค่ะ.."

----------------------------------------------


ทริปนี้ ผมได้หนังสือหลายเล่ม จากศูนย์หนังสือจุฬา ฯ และปิดทริปด้วยแผงหนังสือของพี่แว่นหนาที่จตุจักร แผงตรงหน้าห้องนํ้าน่ะครับ (โป๊มั้ยเพ่ ? - ยังมีเหมือนเดิม แต่คราวนี้มาแบบแผ่น - ชะรอยว่าหน้าตาข้าพเจ้าคงเป็นมันมั่กๆ - กำลังคิดว่าจะอำกลับไปแล้วว่า น้องๆ บ้านพี่ไม่มีคอมพ์ฯใช้ว่ะ...อะจึ๋ย !!)

ไปอุดหนุนหนังสือ 10,000 ฟอนท์ ในราคาลด 20 % ของร้านพี่แว่นหนาไม่รู้เป็นไงผมชอบอุดหนุนร้านของพี่เขา เวลาเห็นแกจับหนังสือมาดูราคาใกล้ๆแล้วรู้สึกเป็นห่วง ว่าพี่แกคงสายตาไม่ค่อยดี แต่เหนืออื่นใด รู้สึกว่าพี่เขาเป็นคนมีความสุขกับสิ่งที่ตัวเองทำ เรียบง่ายกับการดูแลแผงหนังสือของแกตามปกติ

เวลาขึ้นกรุงเทพฯทุกครั้ง ผมจะหาโอกาสแวะเวียนเยี่ยมเยือนถิ่นเก่า ร้านค้าต่างๆที่เคยไปอุดหนุน (คิดไปเองว่าเป็นประมาณ ฮุ้นปวยเอี๊ยงรำลึกบู๊ตึ๊ง แบบไม่ต้องมีเพลงประกอบ 5 5 5) โดยเฉพาะพี่ๆ ป้าๆ น้าๆ น้องๆ ผู้ค้าขายที่มีอัธยาศัยดี หรือบางทีเราเห็นแล้วแอบสงสาร คือขอแค่ได้เห็นว่า พี่ๆ ป้าๆ น้าๆ เขายังมีความสุขดีกับการทำงานประจำวัน ก็รู้สึกว่ามาถึงกรุงเทพฯแล้วจริงๆ ...จากนั้นเราก็บ่ายหน้ากลับบ้านไปทำหน้าที่ของเราต่อไปตามปกติ

สยามพาราก้ง พาราก้อน อะไรนั่นน่ะ พอมีห้างใหม่มาเปิดแข่ง เราก็พร้อมที่จะเผ่นไปเดินตากแอร์ที่อื่นต่อ ไม่ดีกว่าหรือครับ ?

Saturday, November 12, 2005

ข่าว และ เรื่องซีเรียสของคนเสพข่าว

ผมว่าจะเขียนเรื่องรายการประเภท คุยข่าว / เล่าข่าว และล่าสุด ที่น่ารำคาญมากๆ ขออนุญาตเรียกว่ารายการ "เมาท์ข่าว" ครับ

รายการคุยข่าว / เล่าข่าว ที่เด่นๆคงไม่พ้นของคุณสรยุทธ กับคุณกนก วิ่งรอก 2 - 3 ช่อง (ที่ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไปได้ยังไง 7 วันต่อสัปดาห์ 365 วันต่อปีโ ดยที่ยังไม่เคยเห็นเขาหยุดหรือลาป่วยเลย )
ส่วนรายการเมาท์ข่าวที่เด่นดังคงเป็น รายการของสี่ดรุณีช่อง 3 หลังรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ของคุณสรยุทธ

จำได้ว่า อาจารย์สมเกียรติ อ่อนวิมล น่าจะเป็นท่านแรกๆที่ริเริ่มทำรายการประเภทนี้ได้อย่างมีสีสัน ทั้งข่าวในประเทศ และโดยเฉพาะข่าวต่างประเทศ บ่อยครั้งที่ตามด้วยคลิปข่าวจาก CNN ยุคแรกๆที่ยังไม่โด่งดังมาก ประเด็นข่าวของ CNN ช่วงนั้นน่าสนใจจริงๆ และอาจารย์สมเกียรติท่านก็คัดเอาเฉพาะที่เด่นๆมาวิเคราะห์ เล่าสู่กันฟังอีกที ท่านทำหน้าที่ตรงนั้นได้ดีมากครับ โดยที่ยังไม่ได้ทิ้งหัวใจหลักของข่าว คือ "การรายงานข่าวตามความเป็นจริง" ความเป็นกันเองของท่านและทีมงาน ทำให้รู้สึกว่าการเสพข่าวทีวีเป็นเรื่องธรรมดาๆเรื่องหนึ่งในชีวิตประจำวัน น่าติดตาม และเปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกล
การดูข่าวทีวีจึงได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปโดยปริยาย

ไล่ๆกับยุคสมัยของอาจารย์สมเกียรติ คุณสุทธิชัย หยุ่น และคุณเทพชัย หย่อง ตลอดจนอีกหลายๆท่านในทีมงานไอทีวียุคแรก น่าจะเป็นกลุ่มบุคคลที่สร้างสีสันให้กับระบบงานข่าวทางทีวีอย่างชัดเจน จริงจัง ทั้งในเชิงกว้างและลึก ในรูปแบบต่างๆ นานาที่หลากหลาย คนดูได้รู้จักการวิเคราะห์ข่าว การเลือกประเด็น การอภิปราย-สรุปผล การติดตามความคืบหน้า ความเคลื่อนไหว ฯลฯ อย่างชนิดที่ทำให้การเสพข่าวกลายเป็นหน้าที่ ที่เราต้องรับรู้ ติดตามกันไปตลอด จนแทบจะเรียกได้ว่า ถ้าวันไหนไม่ได้ดูข่าวจะรู้สึกหงุดหงิด เหมือนขาดอะไรไปบางอย่าง

ทั้งอาจารย์สมเกียรติ อ่อนวิมล และไอทีวีในยุคของคุณสุทธิชัย หยุ่น ได้สร้างบุคลากรสายงานข่าวในสาขาต่างๆมากมาย ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง แถมพกด้วยมีรายการสารคดีที่เป็นเรื่องน่าสนใจ ปัญหาสังคม หรือเรื่องสืบเนื่องจากประเด็นข่าวที่เปิดให้เราได้รับรู้ความเป็นไปต่างๆนานา รายการข่าวกลายเป็นช่วงเวลาทองที่มีอัตราค่าโฆษณาพุ่งสูงขึ้นในอัตราก้าวหน้า มีผู้รายงานข่าวหน้าใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมาย และการแข่งขันกันเรื่องการเสนอข่าว ก็ได้กลายเป็นสิ่งที่ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ทุกช่องให้ความสำคัญมากขึ้นอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ในโลกของความแน่นอน ยังเจือปนอยู่ด้วยความไม่แน่นอน วันเลวคืนร้ายก็ได้พัดพาเอาคลื่นลมเฮอริเคนทางการเมืองมายังแวดวงข่าวทีวีจนได้ เพราะถึงขนาดที่ผู้บริหารประเทศยังเอ่ยปากให้ความสำคัญกับคำว่า "พื้นที่ข่าว" ดังนั้นการที่อยู่มาวันหนึ่ง ทีมงานข่าวที่ได้ชื่อว่าที่ชัดเจน จริงจังกับการทำหน้าที่ของตัวเองตามอุดมการณ์และความเชื่อ แต่ขณะเดียวกัน ก็สร้างกระแสขัดแย้งกับคนในรัฐบาล ก็ได้ถูกยึดพื้นที่ เวที และโอกาสไปแบบไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างง่ายๆ โดยที่แทบจะไม่มรกลุ่มพลังใดสามารถคัดค้าน หรือเรียกร้องต่อต้าน
แต่ก็เป็นไปแล้ว สองครั้ง - ทีมงานเดอะเนชั่น ที่อุตส่าห์ย้ายจากไอทีวี มาเปิดเนชั่นทีวี ถึงที่สุด ก็ยังโดนดีดออกไปจนได้

ผมไม่ได้เห็นคุณสุทธิชัย หยุ่น ออกทีวีมาจะร่วมสองปีเข้าให้แล้วนี่ละครับ

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทีมงานคุณภาพของไอทีวี และเนชั่นทีวีนั้นใหญ่หลวงนัก เพราะหลังจากที่เราหมดโอกาสที่จะได้ดูสถานีข่าว ที่นำเสนอข่าวกันตลอดวันอย่างจริงจังตั้งอกตั้งใจ อยู่มาวันหนึ่ง รายการข่าวทางทีวีที่ควรทำหน้าที่ รายงานข่าว นำเสนอ วิเคราะห์ ติดตามผล ก็ได้กลายสภาพเป็นโชว์ประเภทหนึ่ง ที่มีผู้ประกาศและเนื้อหาของข่าวเป็นจุดขาย แรกๆก็ฮือฮากับความแปลกใหม่ ขึงขังของพิธีกรข่าวคนดังเขาอยู่หรอก แต่หลังๆมามันน่าเบื่อเหลือเกิน เพราะเขาทำงานกันง่ายๆ ใช้วิธีจับประเด็นข่าวเอาจากพาดหัวมาเล่าให้ฟังด้วยลีลาขึงขัง ใส่สีตีไข่ ใช้นํ้าเสียงผนวกกับสีหน้าท่าทางดุดันจริงจัง (ราวกับว่าจะล้วงลึก ลากไส้ทุกขดทุกขนดของคนคอรัปชั่นออกมาแผ่หราหน้าจอทีวีได้โดยง่ายๆ แต่ขอโทษ...รอไปเทอะ) ที่น่ารำคาญยิ่งกว่า คือ มีการเล่นเกม ตอบคำถาม ส่ง SMS ตลอดจนโฆษณาแฝงขายสินค้า ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวแจก(มากด้วย) ประเภทที่ทำให้รู้สึกว่า ถ้าตาไม่ได้มองทีวี คงคิดว่านี่เป็นรายการวิทยุ

เรื่องน่าเศร้าก็คือ ถึงที่สุด ไปๆมาๆ รายการข่าวของประเทศไทยของเรามีสภาพเหมือนกับรายการวิทยุ จะต่างกันอยู่บ้างก็ตรงที่ถ้าลืมตาขึ้นมามองทีวี จะเห็นภาพพิธีกรข่าวกับท่าทางขึงขัง สลับเฮฮาของเขา เท่านั้นเองจริงๆ

ความสำเร็จของรายการคุยข่าว เล่าข่าว ได้พัฒนาตัวเองมาเป็นรายการเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มสุภาพสตรี หรือกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าเป็น ไฮโซฯ นอกจากเล่าข่าว จะมีการอ่านนิตยสาร และวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นไปทั่ว (อย่างที่ผมตั้งชื่อให้เองว่าเป็นรายการ "เมาท์ข่าว" ) โดยหลายต่อหลายครั้งประกอบขึ้นด้วยทัศนคติที่ไม่แจ้งชัด ไม่สมควร ไม่รู้จักกาลเทศะถึงขนาดจาบจ้วงล่วงเกิน ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่ตั้งใจ มันยิ่งทำให้คุณค่าที่มีน้อยยิ่งกว่าน้อยอยู่แล้ว กลับกลายเป็นโศกนาฏกรรมยามเช้าที่ไม่พึงประสงค์
น่าแปลกใจที่ผู้คนต่างพากันคิด และเชื่อว่ารายการเหล่านี้ได้รับความนิยม รายได้จากโฆษณาจึงโถมเข้ามาจนเต็ม เรื่องราวแบบนี้จึงยังคงดำเนินต่อไป

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับรายการข่าวประจำวันช่วงคํ่า ที่ชัดเจนมาก คือ การเพิ่มช่วงเวลาการนำเสนอข่าวบันเทิง โดยเฉพาะเรื่องซุบซิบไร้สาระที่ไม่ได้ทำให้สังคมได้พัฒนาไปในทิศทางที่ดีแต่อย่างใด มีแต่กลับมีรายการประเภทนี้มากขึ้นอย่างน่าตกใจ (เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์รายวัน และนิตยสารรายสัปดาห์/รายปักษ์) บางช่องถึงขนาดเลือกเอามารายงานก่อนข่าวเด่นประจำวันอย่างเต็มรูปแบบ(ไอทีวี)
รีโมทจึงทำหน้าที่ของมันตามปกติ แต่ที่คับข้องใจมาก คือ หลายครั้งที่ทำให้ผมต้องพลาดข่าวสำคัญประจำวันไปอย่างน่าเสียดาย

ปัจจุบัน ผมจึงเลือกที่จะเสพข่าวโดยการอ่านเอาเอง จากอินเตอร์เน็ท เลือกเว็บไซท์ที่เชื่อถือได้ รวดเร็ว ให้ความสำคัญกับการรายงานข่าว มากกว่าใส่สีตีข่าว จะสั้นบ้างยาวบ้างก็แล้วแต่เนื้อหาสาระ ข่าวใดที่เป็นเรื่องฉุกเฉิน น่าตกใจก็ต้องมารอดูเอาตามรายการข่าวทีวีช่วงต้นชั่วโมง ซึ่งหลายครั้งก็ไม้ได้รวดเร็วทันใจ มากต่อมาก ที่ไม่ได้เอามารายงานเลยด้วยซํ้า อย่างกรณีการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปีกลาย คงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน

เรื่องข่าว จึงกลายเป็นเรื่องซีเรียสสำหรับคนเสพข่าวอย่างผม เพราะพัฒนาการขาลงของระบบการรายงานข่าวในบ้านเรานับวันแต่จะถอยหลังเข้าคลองไปในอัตราเร่งไปหมดในทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี วิทยุ หรือ หนังสือพิมพ์
เวลาและพื้นที่เป็นเงินเป็นทอง โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี ของทุกอย่างมีเอาไว้ขาย
ปัจจุบัน ผมเองพยายามทำใจรับสภาพให้ได้เท่าที่เป็นอยู่ ถ้าเมื่อไรก็ตามที่รับไม่ได้ ก็คงเลิกอ่าน เลิกดู เลิกฟังไปเองในที่สุด
คงไม่มีอะไรง่ายดายเท่านี้

หมายเหตุ - คุณภัควดี วีระภาสพงศ์ แนะนำลิงค์ที่น่าสนใจจากเว็บผู้จัดการ ว่าด้วยเรื่องราวในระบบการข่าวโทรทัศน์ของบ้านเรา เขียนโดย อ.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา น่าสนใจมากครับ
ขออนุญาตทำลิงค์ให้ครับ http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000155974

Monday, November 07, 2005

คำถามของ "โสภณ" ธุรกิจอะไรทำกำไรแสนล้าน ?

ผมได้อ่านบทความชิ้นนี้ ใน นสพ.ประชาชาติธุรกิจ เมื่อวันสองวันก่อน
เป็นความโลภที่มาจากเล่ห์เหลี่ยม และจิตใจที่อำมหิต ของผู้มีอำนาจ
ลองอ่านดูนะครับ พอดีเขาเพิ่งเอาขึ้นเว็บ
http://www.matichon.co.th/prachachart/prachachart_detail.php?s_tag=02pol04071148&day=2005/11/07
อย่าลืมคลิกไปดูกราฟประกอบบทความด้วยครับ

หลายปีมานี้ ทีมข่าวเศรษฐกิจของประชาชาติธุรกิจ ทำสกู้ปเชิงวิเคราะห์ และติดตามความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติในบางธุรกิจที่มีวี่แววว่าจะมีการคดโกงได้อย่างน่าสนใจ เพราะแทบไม่มีฉบับไหนเลยที่เกาะติดกับบางประเด็นได้อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน
งานวิเคราะห์ที่มาที่ไปในงบการเงินประหลาดๆของบางบริษัท กลายเป็นเรื่องง่ายดายอย่างไม่น่าเชื่อ แค่ทีมทำข่าวเดินทางไปดูที่ตั้งของบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือบริษัทเปิดใหม่ที่เป็นปลายทางของเงินลงทุน
อ่านๆไป ในบางครั้ง ก็อยากให้มีรายละเอียดที่ลงลึกและรอบด้านกว่านี้ ขณะเดียวกับที่ก็พอเข้าใจได้ไม่ยากเช่นกัน ว่างานแบบนี้เต็มไปด้วยอุปสรรค และความเสี่ยง แถมอย่งที่รู้ๆกัน คนไทยลืมง่าย และจะสนใจแต่เรื่อง Talk of the Town

Yeebud Diary

คืนวันหนึ่ง หลังจากที่ล็อกอินเข้ามาเล่นเว็บตามปกติ ผมไปเจอกระทู้แนะนำบล็อกแห่งหนึ่ง ที่ Thaiwriter.net ชื่อ http://www.fringer.org/ อธิบายตัวเองสั้นๆ ว่า Fringer คนชายขอบ
ก็เลยลองแวะเข้าไปดูตามอัธยาศัย พบว่า บล็อกเขามีข้อเขียนน่าสนใจดีครับ
ผมเองก็เป็นโรคแพ้ความตั้งใจและเจตนาดีอยู่เป็นทุนเดิม ก็เลยลองอ่านดู

มีหลายบทความที่น่าสนใจในบล็อกนี้ แล้วเจ้าของบล็อกท่านก็กรุณาเตรียมไว้ให้เป็น PDF file สะดวกมากสำหรับการพิมพ์ออกมาอ่าน
คุณสฤนี เจ้าของบล็อก Fringer ได้กรุณาทำลิงค์ไปยังเพื่อนบล็อกเกอร์ท่านอื่นๆของเธอ ซึ่งข้าพเจ้าก็ตามไปดูบ้าง แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจอ่านให้ละเอียดแต่อย่างใด เพราะยังรู้สึกว่ามันเป็นไดอารี่ คล้ายๆจะเป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่พึงรู้
ก็จะเลือกอ่านเฉพาะที่เป็นรายงาน บทความ แนะนำหนังสือ ฯลฯ

จนมาเจอบทความ "สำนักหลังเขาของผม" ที่ลิงค์แห่งหนึ่ง
..เฮ้ย คุ้นๆ เพราะผมเพิ่งอ่านบทความนี้ใน POPEYES เล่มแรกที่แทรกมากับนิตยสาร POP ของเจ๊ตี้คนสวยนี่หว่า เลยได้ทำความรู้จักกับบล็อกของ อ.ปกป้อง จันวิทย์ ผู้เขียนหนังสือ "คนไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจ" ว่าท่านก็เป็นบล็อกเกอร์กับเขาด้วย http://pinporamet.blogspot.com/
ก็เลยตามอ่านอีกบล็อกหนึ่ง

อาจารย์ปกป้องเขียนถึงเว็บไดอารี่ของน้องชื่ออ่านยากคนหนึ่งด้วยครับ - Yeebud Diary http://storythai.com/user/yeebud/ ลองเข้าไปอ่าน ก็เห็นว่าเป็นไดอารี่เฮ้วๆ มีสำนวนประมาณ ยีสต์ ขี้ เยี่ยว ตูด ดุส ข้า เจ้า นมดำกรำงาน ..อะไรกัน(โว้ย ไอ้)น้อง ?
ระหว่างที่อ่าน ทราบว่าน้องชื่ออ่านยาก Yeebud คือนายแทนไท ประเสริฐกุล ลูกชาย อ. เสกสรรค์ - คุณจิระนันท์ ประเสริฐกุล เพิ่งเรียนจบจากคอร์เนล ตอนนี้เป็นอาจารย์สอนชีววิทยาที่โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา

เห็นว่าบล็อกนี้โด่งดังจนมีการเอาไปรวมเล่มด้วย มันคงเป็นแควชั่นใหม่ ที่ตามมาจากการที่ไซเบอร์สเปซมีเว็บบล็อก หลังจากนักเขียนนิยายตามกระทู้ที่มีคนอ่านเยอะๆ มีการรวมเล่มขาย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บล็อกที่มีคนอ่านเยอะๆจะรวมเล่มออกมาวางขาย...บ้าง
จนอยู่มาวันหนึ่ง เห็นหนังสือเล่มใหม่ "โลกนี้มันช่างยีสต์" สีส้มสดมาเลย


ภาพปก ออกแบบได้น่าตกใจมากจนต้องหยิบมาพลิกๆดู - ขอยืนอ่าน(ฟรี)ก่อน ตามสไตล์หนอนในยุคหนังสือราคาแพง

มาสะดุดเอาตรงข้อสอบที่น้อง Yeebud ให้นักเรียน ม.ปลายตอบ ..เวียนอ่านอยู่สองรอบ พบว่าน่าสนใจดีครับ สมควรให้เจ้าเอก หลานชายพันธุ์ X ของข้าพเจ้า กลุ่มเป้าหมายของอาจารย์ Yeebud ได้อ่านบ้าง เพราะขานี้ วันวันเอาแต่ เอ็งเอ๊งเอ็ง - msn (เบื่อมันพอสมควรเลยว่ะ เพราะไม่ได้คิดจะศึกษาหาความรู้จากซอฟท์แวร์อื่นเลย)
บังเอิญ ผมเองกำลังเจอปัญหาของผู้ปกครองที่ไม่สามารถทำความเข้าใจ และสื่อสารกับวัยรุ่นอายุประมาณนี้ได้อย่างที่ควรจะเป็น ประมาณว่าอยู่มาวันหนึ่ง ลุงกับหลานก็คุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง คิดว่าหนังสือเล่มนี้คงเป็นประโยชน์กับเขาบ้าง เลยสอยมาซะ


ก่อนให้หลานอ่าน ข้าพเจ้า ผู้เป็นลุง ก็เลยถือโอกาสเปิด...(อย่าคิดมากสหาย)...อ่าน ก่อนตามประสาคนจ่ายกะตังค์ จะได้ทำความรู้จักกับคนเขียนแต่ต้น


น้องแทนไทเขียนหนังสือสนุกครับ แค่อ่านคำนำก็รู้แล้วว่าเป็นคนช่างคิด ช่างเขียน มีประเด็น เห็นภาพ อ่านสนุกด้วยสำนวนวัยสะรุ่นยุคโพสต์มิลเลนเนียม เขียนอุจจาระว่าขี้ ตูดเป็นตูด นมเป็นนม ( ถ้ายังไม่พอใจ มีทั้งรูปนมและตูดให้ผู้อ่านได้เห็นกันจะๆ )

ผมชอบตอน นี่คือสิ่งสำคัญ มากๆเลยครับ (โดยเฉพาะภาพประกอบบนปก IMAGE เจ๋งเป้งมากน้อง ขอให้น้า บก.IMAGE มาเห็นเองด้วยเถอะ...อิอิ

ที่ชอบตอนนี้เพราะอ่านแล้วรู้สึกได้เลยครับ ว่ามันไหลมาจากใจ มันชัดเจน จริงจัง จริงใจ และที่สำคัญมากคือ สอนใจไปหมด ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนเขียนและคนอ่าน มีทั้ง action/reaction แถม emotion แห่งการอ่าน

อ่านแล้วเห็นตัวเองเวลาดุหลานชาย เห็นความคาดหวังที่เรามักเรียกแบบเข้าข้างตัวเองว่า"ความหวังดี" เห็นความผิดหวังของเด็ก เห็นทัศนคติ ความคิด และมุมมองที่ ... อยู่มาวันหนึ่ง กลายเป็นมุมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ช่วยให้สามารถทำความเข้าใจได้ระดับหนึ่งเลยทีเดียว ว่าเหตุใดตั้งแต่ขึ้น ม. 4 มา เราจึงสื่อสารกับเขาไม่ค่อยรู้เรื่อง

อาจารย์แทนไทพิจารณาเรื่องแบบนี้โดยอาศัยสถานการณ์ presentation ในชั้นเรียน ทำความเข้าใจมันด้วยตัวเองอย่างรอบด้าน แล้วจึงเขียนถ่ายทอดออกมา เขาทำได้ดีทีเดียว

ไม่ควรพลาดนะครับ เล่มนี้ จะอ่านเอามันส์ หรือ เอาไว้สอนลูกหลานวัยรุ่น ก็ยิ่งมีประโยชน์ : )

ขอทิ้งท้ายไว้ด้วยถ้อยคำของ Yeebud จากคอลัมน์ Small Talk ในนิตยสาร GM Plus เล่มใหม่ ครับ

"คนที่พูดว่าอย่าไปซีเรียสกับชีวิต ขำๆกันไปเถอะ พอมาถึงจุดหนึ่ง เขาจะรู้ตัวเองว่ามันไปต่อไปไม่ไหว อย่างน้อยสำนึกบางอย่างก็จะบอกว่า เขาต้องเลี้ยงดูตัวเองหรือพ่อแม่ ต้องตอบแทนบางอย่างแก่สังคม เป็นความรับผิดชอบที่เมื่อถึงจุดหนึ่งของชีวิตแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อวันนั้นมาถึงแล้ว ถ้าเขาไม่ได้เตรียมตัวอะไรเลย ชีวิตของเขาก็อาจจะต้องจำใจทำในสิ่งที่ไม่ต้องการนัก สุดท้ายเขาก็จะไม่มีความสุขมากเท่าที่ควรจะมี"

Sunday, November 06, 2005

Priorities of life



A professor stood before his philosophy class and had some items in front of him.

When the class began, wordlessly, he picked up a very large empty mayonnaise jar and proceeded to fill it with golf balls.
He then asked the students if the jar was full.
They agreed that it was.

So the professor then picked up a box of pebbles and poured them into the jar.
He shook the jar lightly. The pebbles rolled into the open areas between the golf balls.
He then asked the students again if the jar was full.
They agreed it was.

The professor next picked up a box of sand and poured it into the jar.
Of course, the sand filled up everything else.
He asked once more if the jar was full.
The students responded with a unanimous "yes."

The professor then produced two cans of beer from under the table and poured the entire contents into the jar, effectively filling the empty space between the sand.
The students laughed.

"Now," said the professor, as the laughter subsided,
"I want you to recognize that this jar represents your life.
The golf balls are the important things your family, your health, your children, your friends, your favorite passions things that if everything else was lost and only they remained, your life would still be full.
The pebbles are the other things that matter like your job, your house, your cars.
The sand is everything else- the small stuff.

If you put the sand into the jar first," he continued, "there is no room for the pebbles or the golf balls.
The same goes for life.
If you spend all your time and energy on the small stuff, you will never have room for the things that are important to you.
Pay attention to the things that are critical to your happiness.
Play with your children.
Take time to get medical checkups.
Take your partner out to dinner.
Play another 18.
There will always be time to clean the house, and fix the disposal.

"Take care of the golf balls first, the things that really matter.
Set your priorities. The rest is just sand."


One of the students raised her hand and inquired what the beer represented.
The professor smiled.
"I'm glad you asked. It just goes to show you that no matter how full your life may seem, there's always room for a couple of beers.

บทความนี้เผยแพร่มานานแล้วในอินเตอร์เน็ท
ล่าสุดเพิ่งลงในมติชน แต่ตอนท้าย ท่านศาสตราจารย์ไม่ได้เติมเหยือกนี้ด้วยเบียร์ : )

วาเด็ง ปูเต๊ะ พระสหายแห่งสายบุรี

กรุงเทพธุกิจ วันอาทิตย์ 6 พฤศจิกายน 2548
*กิ่งอ้อ เล่าฮง *ไพรัช มิ่งขวัญ ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
(www.tjanews.org)

"ในหลวงคุยกับเป๊าะเป็นภาษามลายู ท่านพูดมลายูสำเนียงไทรบุรี คุยกันก็เข้าใจเลยพอเจอกันบ่อยๆ คุยกัน มีความเห็นตรงกัน ท่านก็เลยรับเป๊าะเป็นพระสหาย เป๊าะบอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่บอกท่านไป ทั้งหมดเป็นความจริง พูดโกหกไม่ได้จะเป็นบาป"

http://www.bangkokbiznews.com/2005/11/06/c009l1_50038.php?news_id=50038
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9480000153232 (มีภาพลุงวาเด็งด้วยครับ)

ปัญหาไฟใต้ที่เรื้อรังมานาน และดูท่าทางว่าจะยิ่งโหมกระพือขึ้นทุกทีด้วยลมปาก พฤติกรรม และวิธีคิดแบบนักธุรกิจของนายกรัฐมนตรี
ไม่ว่าจะพิจารณาจากมุมไหน ผมยังไม่เห็นวี่แววว่าคนคนนี้จะสามารถทำอะไรไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่

ผมเพิ่งอ่านบทความชิ้นนี้จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 6 พย. 2548 - เล่นเอานํ้าตาซึม
ส่งให้แม่อ่าน เมื่อท่านอ่านจบก็หันมาบอก ด้วยอาการอย่างเดียวกัน ..เป็นความชื่นใจที่เปรียบเหมือนแสงสว่าง ท่ามกลางความไม่เข้าใจ ความคลุมเครือที่ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

นี่เป็นเรื่องดีๆ ที่พึงบันทึกไว้ ในยามที่บรรยากาศของบ้านเมืองช่วงนี้ไม่ดีเอาซะเลย

Saturday, November 05, 2005

A Quote

Twenty years from now you will be more disappointed by the things you didn't do than by the ones you did do.

So throw off the bowlines, sail away from the safe harbor.
Catch the trade winds in your sails.

Explore....Dream....Discover.
- Mark Twain

Tuesday, November 01, 2005

สุนทรพจน์ของ Steve Jobs ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด




'You've got to find what you love,' Jobs says

This is the text of the Commencement address by Steve Jobs, CEO of Apple Computer and of Pixar Animation Studios, delivered on June 12, 2005.

I am honored to be with you today at your commencement from one of the finest universities in the world. I never graduated from college. Truth be told, this is the closest I've ever gotten to a college graduation. Today I want to tell you three stories from my life. That's it. No big deal. Just three stories.

The first story is about connecting the dots.

I dropped out of Reed College after the first 6 months, but then stayed around as a drop-in for another 18 months or so before I really quit. So why did I drop out?

It started before I was born. My biological mother was a young, unwed college graduate student, and she decided to put me up for adoption. She felt very strongly that I should be adopted by college graduates, so everything was all set for me to be adopted at birth by a lawyer and his wife. Except that when I popped out they decided at the last minute that they really wanted a girl. So my parents, who were on a waiting list, got a call in the middle of the night asking: "We have an unexpected baby boy; do you want him?" They said: "Of course." My biological mother later found out that my mother had never graduated from college and that my father had never graduated from high school. She refused to sign the final adoption papers. She only relented a few months later when my parents promised that I would someday go to college.

And 17 years later I did go to college. But I naively chose a college that was almost as expensive as Stanford, and all of my working-class parents' savings were being spent on my college tuition. After six months, I couldn't see the value in it. I had no idea what I wanted to do with my life and no idea how college was going to help me figure it out. And here I was spending all of the money my parents had saved their entire life. So I decided to drop out and trust that it would all work out OK. It was pretty scary at the time, but looking back it was one of the best decisions I ever made. The minute I dropped out I could stop taking the required classes that didn't interest me, and begin dropping in on the ones that looked interesting.

It wasn't all romantic. I didn't have a dorm room, so I slept on the floor in friends' rooms, I returned coke bottles for the 5¢ deposits to buy food with, and I would walk the 7 miles across town every Sunday night to get one good meal a week at the Hare Krishna temple. I loved it. And much of what I stumbled into by following my curiosity and intuition turned out to be priceless later on. Let me give you one example:

Reed College at that time offered perhaps the best calligraphy instruction in the country. Throughout the campus every poster, every label on every drawer, was beautifully hand calligraphed. Because I had dropped out and didn't have to take the normal classes, I decided to take a calligraphy class to learn how to do this. I learned about serif and san serif typefaces, about varying the amount of space between different letter combinations, about what makes great typography great. It was beautiful, historical, artistically subtle in a way that science can't capture, and I found it fascinating.

None of this had even a hope of any practical application in my life. But ten years later, when we were designing the first Macintosh computer, it all came back to me. And we designed it all into the Mac. It was the first computer with beautiful typography. If I had never dropped in on that single course in college, the Mac would have never had multiple typefaces or proportionally spaced fonts. And since Windows just copied the Mac, its likely that no personal computer would have them. If I had never dropped out, I would have never dropped in on this calligraphy class, and personal computers might not have the wonderful typography that they do. Of course it was impossible to connect the dots looking forward when I was in college. But it was very, very clear looking backwards ten years later.

Again, you can't connect the dots looking forward; you can only connect them looking backwards. So you have to trust that the dots will somehow connect in your future. You have to trust in something — your gut, destiny, life, karma, whatever. This approach has never let me down, and it has made all the difference in my life.

My second story is about love and loss.

I was lucky — I found what I loved to do early in life. Woz and I started Apple in my parents garage when I was 20. We worked hard, and in 10 years Apple had grown from just the two of us in a garage into a $2 billion company with over 4000 employees. We had just released our finest creation — the Macintosh — a year earlier, and I had just turned 30. And then I got fired. How can you get fired from a company you started? Well, as Apple grew we hired someone who I thought was very talented to run the company with me, and for the first year or so things went well. But then our visions of the future began to diverge and eventually we had a falling out. When we did, our Board of Directors sided with him. So at 30 I was out. And very publicly out. What had been the focus of my entire adult life was gone, and it was devastating.

I really didn't know what to do for a few months. I felt that I had let the previous generation of entrepreneurs down - that I had dropped the baton as it was being passed to me. I met with David Packard and Bob Noyce and tried to apologize for screwing up so badly. I was a very public failure, and I even thought about running away from the valley. But something slowly began to dawn on me — I still loved what I did. The turn of events at Apple had not changed that one bit. I had been rejected, but I was still in love. And so I decided to start over.
I didn't see it then, but it turned out that getting fired from Apple was the best thing that could have ever happened to me. The heaviness of being successful was replaced by the lightness of being a beginner again, less sure about everything. It freed me to enter one of the most creative periods of my life.

During the next five years, I started a company named NeXT, another company named Pixar, and fell in love with an amazing woman who would become my wife. Pixar went on to create the worlds first computer animated feature film, Toy Story, and is now the most successful animation studio in the world. In a remarkable turn of events, Apple bought NeXT, I retuned to Apple, and the technology we developed at NeXT is at the heart of Apple's current renaissance. And Laurene and I have a wonderful family together.
I'm pretty sure none of this would have happened if I hadn't been fired from Apple. It was awful tasting medicine, but I guess the patient needed it. Sometimes life hits you in the head with a brick. Don't lose faith. I'm convinced that the only thing that kept me going was that I loved what I did. You've got to find what you love. And that is as true for your work as it is for your lovers. Your work is going to fill a large part of your life, and the only way to be truly satisfied is to do what you believe is great work. And the only way to do great work is to love what you do. If you haven't found it yet, keep looking. Don't settle. As with all matters of the heart, you'll know when you find it. And, like any great relationship, it just gets better and better as the years roll on.
So keep looking until you find it. Don't settle.

My third story is about death.

When I was 17, I read a quote that went something like: "If you live each day as if it was your last, someday you'll most certainly be right." It made an impression on me, and since then, for the past 33 years, I have looked in the mirror every morning and asked myself: "If today were the last day of my life, would I want to do what I am about to do today?" And whenever the answer has been "No" for too many days in a row, I know I need to change something.

Remembering that I'll be dead soon is the most important tool I've ever encountered to help me make the big choices in life. Because almost everything — all external expectations, all pride, all fear of embarrassment or failure - these things just fall away in the face of death, leaving only what is truly important. Remembering that you are going to die is the best way I know to avoid the trap of thinking you have something to lose. You are already naked. There is no reason not to follow your heart.

About a year ago I was diagnosed with cancer. I had a scan at 7:30 in the morning, and it clearly showed a tumor on my pancreas. I didn't even know what a pancreas was. The doctors told me this was almost certainly a type of cancer that is incurable, and that I should expect to live no longer than three to six months. My doctor advised me to go home and get my affairs in order, which is doctor's code for prepare to die. It means to try to tell your kids everything you thought you'd have the next 10 years to tell them in just a few months. It means to make sure everything is buttoned up so that it will be as easy as possible for your family. It means to say your goodbyes.

I lived with that diagnosis all day. Later that evening I had a biopsy, where they stuck an endoscope down my throat, through my stomach and into my intestines, put a needle into my pancreas and got a few cells from the tumor. I was sedated, but my wife, who was there, told me that when they viewed the cells under a microscope the doctors started crying because it turned out to be a very rare form of pancreatic cancer that is curable with surgery. I had the surgery and I'm fine now.

This was the closest I've been to facing death, and I hope its the closest I get for a few more decades. Having lived through it, I can now say this to you with a bit more certainty than when death was a useful but purely intellectual concept:

No one wants to die. Even people who want to go to heaven don't want to die to get there. And yet death is the destination we all share. No one has ever escaped it. And that is as it should be, because Death is very likely the single best invention of Life. It is Life's change agent. It clears out the old to make way for the new. Right now the new is you, but someday not too long from now, you will gradually become the old and be cleared away. Sorry to be so dramatic, but it is quite true.

Your time is limited, so don't waste it living someone else's life. Don't be trapped by dogma — which is living with the results of other people's thinking. Don't let the noise of others' opinions drown out your own inner voice. And most important, have the courage to follow your heart and intuition. They somehow already know what you truly want to become. Everything else is secondary.

When I was young, there was an amazing publication called The Whole Earth Catalog, which was one of the bibles of my generation. It was created by a fellow named Stewart Brand not far from here in Menlo Park, and he brought it to life with his poetic touch. This was in the late 1960's, before personal computers and desktop publishing, so it was all made with typewriters, scissors, and polaroid cameras. It was sort of like Google in paperback form, 35 years before Google came along: it was idealistic, and overflowing with neat tools and great notions.

Stewart and his team put out several issues of The Whole Earth Catalog, and then when it had run its course, they put out a final issue. It was the mid-1970s, and I was your age. On the back cover of their final issue was a photograph of an early morning country road, the kind you might find yourself hitchhiking on if you were so adventurous. Beneath it were the words: "Stay Hungry. Stay Foolish." It was their farewell message as they signed off. Stay Hungry. Stay Foolish. And I have always wished that for myself. And now, as you graduate to begin anew, I wish that for you.

Stay Hungry. Stay Foolish.

Thank you all very much.

นิตยสาร Positioning ฉบับประจำเดือนตุลาคม 2548 ได้แปลบทความนี้จาก นิตยสาร Fortune ฉบับเดือนกันยายน 2548 ขออนุญาตทำลิงค์ไว้ให้ครับ
http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=41083

Monday, July 04, 2005

มหา'ลัย เหมืองแร่ และ ปรากฏการณ์เอาใจช่วยผู้กำกับฯ


ภาพยนตร์เรื่อง มหา'ลัย เหมืองแร่ ลาโรงไปแล้ว พร้อมกับความล้มเหลวเรื่องรายได้ เมื่อพิจารณาจากเงินทุนที่ลงไป และแน่นอน - ความคาดหวังของทีมงานสร้าง

ผมได้ดู มหา'ลัย เหมืองแร่ ตั้งแต่วันแรกๆที่เข้าฉาย
ก็ยอมรับว่าหนังมีความสนุกสนานเฮฮาตามสไตล์ของผู้กำกับฯ คุณจิระ มะลิกุล ขณะเดียวกันก็มีข้อบกพร่องที่รู้สึกได้มากมายหลายจุดเลยทีเดียว
ปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดเจนพึงตั้งข้อสังเกต คือ นักวิจารณ์ภาพยนตร์ตามหนังสือพิมพ์ นิตยสารส่วนใหญ่ เทใจ เต็มใจเขียนเชียร์ให้เราๆท่านๆรีบไปดู ไปให้กำลังใจภาพยนตร์เรื่องนี้กันอย่างพร้อมเพรียง

จำได้ว่าผมเองก็ได้เข้าไปทำหน้าที่ "อัศวพักตร์" ช่วยโพสต์ข้อความเชียร์หนังเรื่องนี้กับเขาด้วยในบางเว็บไซท์ที่แวะเวียนไปบ่อยๆ เพราะอดนึกเป็นห่วงคุณจิระฯ และทีมงานสร้างหนังเรื่องนี้ขึ้นมาไม่ได้จริงๆ
..นี่อาจจะเป็นอคติอย่างหนึ่ง

โดยภาพรวมแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่ประกอบกันขึ้นเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้ สามารถถ่ายทอด ความตั้งใจ และเจตนาที่ดี ของทีมงานทุกท่านให้คนดูอย่างเราๆท่านๆ สามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน
แล้วจะไม่ให้ร่วมด้วยช่วยกันโปรโมทได้อย่างไรละครับ

ผมชื่นชมกับโลเคชั่นที่ทีมงานสร้างบรรจงเลือกเป็นสถานที่ถ่ายทำ ฉากที่ถูกสร้างขึ้นทุกฉาก ไม่ว่าจะเป็น ออฟฟิศ ร้านกาแฟ หรือบ้านพักคุณอาจินต์ โดยเฉพาะฉากเรือขุด(ที่ได้ข่าวมาว่า .. ไม่สามารถขับเคลื่อนไปตามลำนํ้าได้)

ในฐานะคนใต้ ผมสนุกกับบรรยากาศบางอย่างแบบชาวใต้ที่ปรากฏอยู่ในหนังพอสมควร โดยเฉพาะบรรยากาศแบบ ฝนตกจนภูเขาละลาย ใบไม้โงหัวไม่ขึ้น ...ที่ยากนักที่จะสามารถอธิบายให้คนภาคอื่นๆได้เข้าใจ ว่าฝนใต้มันอ้อยอิ่งแบบหนักหนาสาหัสอย่างไร

ในส่วนของนักแสดง ผมสนุกกับสำเนียงพูดแบบพังงา ที่แม้ว่าจะเจือสำเนียงคนภูเก็ต กระบี่ ระนอง สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช มาบ้าง แต่มันก็ไปกันได้ด้วยดี ..ไม่ทราบว่าจะอธิบายที่ขำๆเป็นภาษาเขียนให้เพื่อนภาคอื่นๆได้เข้าใจได้อย่างไร
โดยเฉพาะคนที่เล่นเป็นโกต๋องน่ะครับ สำเนียงพูด สีหน้าท่าทาง อารมณ์ที่แกบรรเลงเวลาพูดนี่เยี่ยมมาก ฮามาก แม้ว่าจะดูท่าทางพี่แกคงมีเกร็งๆกับบล็อกกิ้ง กับคิวไดอาล็อกอยู่บ้าง แต่รวมๆแล้วสนุกครับ สนุกมาก

ตัวละครคนอื่นๆ อาทิ นายฝรั่ง หรือ พี่จอนกับเหล่าลูกน้องก็เล่นหนังเรื่องแรกได้ดี จะมีขัดเขินไม่ราบเรียบอยู่บ้างก็คงเป็นเรื่องของจังหวะ ท่าทาง ความไม่ชินกับมุมกล้อง การแสดงและบล้อกกิ้งในบางช่วง
แม้บางท่านจะขัดเขิน ก็เขินแบบทำให้คนดูรู้สึกว่าน่ารัก (โดยเฉพาะคุณลุงที่เล่นเป็นเจ้าของที่ดินใจร้ายยย...คนนั้นน่ะ)
เพราะที่เหนือกว่างานการแสดงแบบเขินๆ สิ่งที่เราคนจะสามารถดูสัมผัสได้ไม่ยาก คือความตั้งใจจริง และจริงใจ ที่จะแสดง
ภาษาในวงเหล้าก็ต้องเรียกว่า สนุก(เว้ย) กินเหล้าด้วยกันแล้วอร่อย
ถ้าเป็นแวดวงโฆษณา เอเจนซี่ ก็คงประมาณ ...ฉากเหล่านี้ - ซื้อ !

ผมไม่แปลกใจเท่าไหร่หรอกครับที่ภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่ทำเงิน เพราะมันคงเป็นอย่างที่คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ เจ้าของบทประพันธ์เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ ที่ได้เขียนไว้ในคำนำหนังสือของท่านว่า เรื่องชุดเหมืองแร่ของข้าพเจ้า ไม่มีแอ็คชั่นสำหรับแสดง แต่มันเป็นเรื่องอีโมชั่นสำหรับอ่าน

ในชีวิตการงาน ผมเคยขับรถผ่านอำเภอตะกั่วทุ่งมาหลายต่อหลายครั้ง เข้าใจบรรยากาศของฝนตกหนักๆของภาคใต้ แต่ก็ยังจินตนาการถึงภาพขุมเหมืองดีบุกอย่างในครั้งกระโน้นไม่ได้ เหมืองดีบุกเก่าแก่ในภูเก็ต ก็มีสภาพไม่ต่างจากเนินดิน พงหญ้ารก ขุมเหมืองร้าง ที่ถ้าไม่มีใครบอกมาก่อนว่าที่ตรงนี้เคยเป็นเหมืองแร่มาก่อน ก็คงไม่มีใครรู้จัก

คงต้องขอบคุณพี่เก้ง จิระ มะลิกุล ที่ มหา'ลัย เหมืองแร่ ได้ช่วยสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และที่สำคัญ ช่วยเติมเต็มจินตนาการ บรรยากาศต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวง ระหว่างการอ่านหนังสือเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ ให้ชัดเจน และงดงาม อย่างที่ควรจะเป็น

เรื่องที่ควรยินดี คือ การที่ มหา'ลัย เหมืองแร่ ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนภาพยนตร์ไทย ในการชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม เราคงไม่ต้องมุ่งหวังไปไกลถึงขนาดจะคว้ารางวัล แต่แน่ใจว่าคุณเก้ง จิระ มะลิกุล คงภูมิใจที่อย่างน้อย มันก็ได้แสดงถึงฉันทามติ และการคารวะต่อผู้สร้างงาน

ขอทิ้งท้ายไว้ด้วยข้อความบนผนังสังกะสี ที่ปรากฏในหนังตัวอย่าง ที่ทำให้ขอบตารื้นๆได้ในวันที่ได้ดูเป็นครั้งแรก ...ที่บู้ทมติชนฯ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เมษายน 2548

อดีต คือ ความฝัน
ปัจจุบัน ต้องอด
อนาคต ต้อง ทน

Thursday, May 26, 2005

Star Wars Episode III : Revenge of the Sith




ในที่สุด George Lucas ก็ปิดท้ายไตรภาคแรกของสงครามอวกาศคลาสสิคแห่งยุค 1970 ลงอย่างหืดขึ้นคอในอีกยี่สิบกว่าปีต่อมา

ฉากจบของ Revenge of the Sith ที่โอบีวัน เคโนบีไปส่งทารกน้อย ลุค สกายวอล์คเกอร์ที่ดาวทาทูอีน ทำให้ระลึกถึงภาคแรกของสตาร์วอร์ (Episode IV : The New Beginning) อย่างช่วยไม่ได้

ปี 1997 Star Wars : The New Beginning น่าจะเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก ที่ทำให้โลกภาพยนตร์ได้รู้จักบทบาทอันน่าตื่นตาตื่นใจของเทคนิคพิเศษทางด้านภาพและเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังแห่งดนตรีประกอบภาพยนตร์
และถ้าผมจำไม่ผิด ห้วงเวลาดังกล่าว เป็นระยะแรกๆที่มีเครื่องเล่นวิดีโอ VHS ออกมาวางตลาด และได้รับความนิยมมากจนทำให้รายได้จากการฉายภาพยนตร์ลดลงอย่างมาก ซึ่งก็ได้ Star Wars นี่ละ ที่ช่วยทำให้นักดูหนังเต็มใจควักกระเป๋าจ่ายเงินค่าตั๋ว พร้อมกับเวลาในชีวิตร่วมสองชั่วโมง เข้าไปสู่โลกแห่งสงครามอวกาศที่น่าตื่นตาตื่นใจ
จนถึงกับมีคำกล่าวว่า โรงภาพยนตร์ มีไว้สำหรับฉายภาพยนตร์อย่าง Star Wars ... ลืมการนั่งดูหนังจากเครื่องเล่นวิดีโอที่บ้านของท่านไปได้เลย

ปี 2005 เทคนิคพิเศษต่างๆในกระบวนการผลิตภาพยนตร์เข้ามามีบทบาทมาก มากเสียจน ..สำหรับหนังบางเรื่อง มันสามารถบดบังความโดดเด่นของเนื้อหาสาระ และวิธีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจลงไปได้อย่างสิ้นเชิง

เช่นเดียวกัน Star Wars Episode III : Revenge of the Sith ตระการตาด้วยเทคนิคพิเศษอย่างอลังการยิ่งกว่าในทุกภาคที่ผ่านมา แต่โดยภาพรวมแล้ว ในความเห็นของผม นี่เป็นแค่เพียงหนังที่"น่าเบื่อมั่กๆ"เรื่องหนึ่งเท่านั้น
ดูเหมือนว่าจอร์จ ลูคัส ให้ความสำคัญกับฉากเทคนิคพิเศษต่างๆ จนทำให้หนังขาดเสน่ห์ไปในส่วนของวิธีการเล่าเรื่อง ทั้งที่ประเด็นหลัก คือ การถูกครอบงำเข้าสู่ด้านมืดของ อนาคิน สกายวอล์คเกอร์นั้น มีความเป็นดราม่าอยู่สูงมาก เป็นเรื่องสะเทือนอารมณ์ที่น่าใส่ใจ ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ความยากของไตรภาคแรกแห่งสงครามอวกาศ จึงอยู่ที่การสรุปปมสำคัญในตอนท้ายของ Episode III นี้เอง เพราะสาวกสตาร์วอร์ทุกคน ล้วนทราบดีอยู่แล้วว่า สักวันหนึ่ง อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ จะต้องพ่ายแพ้แก่"ใจ"ของตัวเอง และเดินหน้าเข้าสู่ด้านมืด แพดเม่ต้องตาย ก่อนให้กำเนิด ลุค สกายวอล์คเกอร์ และเจ้าหญิงเลอา ออร์กาน่า

จอร์จ ลูคัส เคยทำให้ผมรู้สึกถึง"พลัง"แห่งความดีงาม ที่ปรากฏอยู่ในแทบทุกลมหายใจของลุค สกายวอล์คเกอร์
ผมอยาก"รู้สึก"ไปกับ"ด้านมืด" อยากเสียใจ อยากรับรู้ความเจ็บปวด อยากรู้ว่าเหตุใด เด็กน้อยคนหนึ่งที่ได้รับการดูแลอบรมมาอย่างดีจึงต้องเลิกศรัทธาในคุณงามความดี ซึ่งในแง่ของการกำกับการแสดง ผมคิดว่า Revenge of the Sith ทำได้ไม่ถึงจุดที่น่าประทับใจเอาซะเลย

บางที ผมอาจจะคาดหวังในเชิงของ ความรู้สึก ความเจ็บปวด ความเปลี่ยนแปลง ที่มีต่อตัวละครอย่างอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ มากเกินไป ..

บางที จอร์จ ลูคัส อาจคิดไม่เหมือนเรา ... บางที ... บางที ... บางที ...

ผมจึงได้แต่ทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลง และการเกิดขึ้นของดาร์ท เวเดอร์เอาจากสคริปต์ และภาพบนจอ แล้วจินตนาการถึงความรู้สึกต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นเอาเอง... อ่ะนะ

อย่างไรก็ตาม ในฉากสุดท้ายของ Revenge of the Sith ...พระอาทิตย์สองดวงทะยอยลับขอบฟ้าแห่งทะเลทรายบนดาวทาทูอีน กลับทำให้ผมย้อนรำลึกถึงวันเวลาและบรรยากาศเก่าๆของ Star Wars : The New Beginning อย่างช่วยไม่ได้

วันเวลาร่วมยี่สิบกว่าปี กับภาพยนตร์นับร้อยๆเรื่อง เทคนิคและชั้นเชิงการเล่าเรื่องสารพัดรูปแบบที่แตกต่างออกไปต่างหาก ที่ทำให้ผมรู้สึกห่างเหินกับเพื่อนเก่าอย่าง Star Wars

ว่างๆ ผมคงหาโอกาสหา Star Wars ไตรภาคที่ 2 กลับมาดูอีกครั้ง เพื่อระลึกถึงบรรยากาศตำนานแห่งสงครามอวกาศสุดคลาสสิค ผมชอบวิธีการเล่าเรื่องแบบซื่อๆ ไม่มีชั้นเชิงแพรวพราว หากแต่"จริงใจอย่างยิ่ง"ของเจไดอย่าง George Lucas และอยากกลับไปรำลึกถึงความประทับใจแบบซื่อๆและจริงใจอย่างนั้นอีกครั้ง

May the Force be with You !

Tuesday, May 17, 2005

Survivor Palau


จบลงไปแล้ว ด้วยความสนุกสนานพอสมควร สำหรับ Reality Show ต้นตำรับที่ฮิตระเบิดเถิดเทิงมาตั้งแต่ฤดูกาลแรก

ผมติดตามดู Survivor มาตั้งแต่ปีแรก จะขาดไปก็ตรงฤดูกาลที่ 4 Survivor Marquesas ที่ยูบีซีไม่ได้นำมาออกอากาศ จำได้ว่าช่อง 9 เคยเอามาแพร่ภาพอยู่ช่วงหนึ่ง แต่ก็ไม่ติดตามดู เป็นเพราะช่วงเวลาออกอากาศไม่ตรงกับเวลาว่าง หรือกระไรก็จำไม่ได้

คงปฏิเสธไม่ได้ ว่าเสน่ห์ของ Survivor อยู่ที่รูปแบบของรายการ ที่จำลองมาจากนวนิยายขายดี เรื่อง Lord of the Flies ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการเอาตัวรอดของเด็กๆกลุ่มหนึ่งที่ติดอยู่บนเกาะร้าง
แต่เมื่อมาเป็น Reality TV Show นอกเหนือจากการเอาตัวรอดจากสภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ทีมงานของโปรดิวเซอร์ Mark Burnett ก็ได้เพิ่มเติมการแข่งขันเพื่อชิงรางวัลประจำสัปดาห์ และการแข่งขันเพื่อชิงสิทธิ์ป้องกันตัว (Immunity Challenge) เพื่อป้องกันไม่ให้ทีม หรือ ตัวผู้เข้าแข่งขันเอง ต้องถูกโหวตออกจากการแข่งขันในแต่ละสัปดาห์

Survivor วางสโลแกนของผู้ชนะประจำรายการว่าจะต้อง Outwit Outplay Outlast
ความน่าสนใจของรายการ อยู่ที่ความสามารถในการตามบันทึกภาพ/เหตุการณ์ต่างๆ การใช้มุมกล้อง และการตัดต่อ ส่วนสีสันต่างๆนานา นั้นอยู่ที่ผู้เข้าแข่งขันในแต่ละฤดูกาลโดยตรง

สำหรับ Survivor ปีแรก จะเรียกว่าเป็นที่น่าเสียดาย หรือเป็น Gold Standard ให้แก้ผู้เข้าแข่งขันในปีต่อๆมาก็คงได้ ที่มีผู้แข่งขันชื่อ Richard Hatch
เพราะด้วยประสบการณ์ชีวิตอันโชกโชน และไหวพริบในการเจรจา Hatch เป็นผู้แข่งขันคนแรกที่นำเอากลยุทธ Alliance - พันธมิตร มาใช้ และที่สำคัญ มันประสบความสำเร็จ !
Richard Hatch สามารถกวาดเงินล้านดอลลาร์ไปได้ และสร้างนิยามของคำว่า Outplay ขึ้นมาในแบบของตัวเอง

ผู้เข้าแข่งขันส่วนใหญ่ใน Survivor ในปีต่อๆมา ก็ล้วนเดินตามแนวทางการสร้างพันธมิตร แบบที่ Hatch ได้วางเอาไว้ ผู้ชนะรายการนี้ในบางฤดูกาล จึงเป็นแค่ใครบางคนที่เก่งในการเกาะไปกับคนที่มีอำนาจในกลุ่ม รักษาเนื้อรักษาตัวไม่ให้มีคนชิงชังมาก พอให้เอาตัวรอดเข้าไปได้ถึงรอบลึกๆ จับพลัดจับผลูอาจคว้าเงินล้านไปได้ ท่ามกลางบรรยากาศที่เจืออยู่ด้วยความหมั่นไส้ปนริษยา ด้วยเหตุผลที่ยากแก่การยอมรับ(เช่นกัน)ของคนดู ว่า "มีคนเกลียด/หมั่นไส้น้อยกว่า"

ผมยังเคยสงสัยอยู่เหมือนกัน ว่า ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันแต่ละราย ไม่เลือกใช้กลยุทธ"พันธมิตร" แล้วใช้ชีวิตกันแบบแฟร์ๆ แข่งขันกันแบบมีสปิริต ไม่มีการเล่นพรรคเล่นพวก ยอมรับในความสามารถ สปิริต นิสัยใจคอ ของกันและกันอย่างจริงใจ เกมมันจะเปลี่ยนไปอย่างไร

โดยปกติ เกม Survivor จะทวีความเข้มข้นขึ้นทันทีที่มีผู้เข้าแข่งขันเหลือ 9 คน และมีการรวมเผ่า เพราะมันหมายถึงช่วงเวลาที่คนที่เคยเอ่ยปากผูกมิตรกันเป็นมั่นเหมาะ อาจจะพลิกลิ้น แปรเปลี่ยนไปเป็นอื่น
สภาวการณ์หักหลัง /แทงข้างหลัง/ โกหก เพื่อรักษาสถานภาพของตนเองให้เกาะไปกับกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะไปได้ไกลที่สุดจึงเกิดขึ้นได้ในแทบทุกฉาก ทุกตอน แถมทีมงานตัดต่อ ก็เข้าใจคาดการณ์ถึงธรรมชาติของมนุษย์ เลือกคัดแต่เฉพาะฉากที่เป็น ไม้ขีดไฟ กับ นํ้ามัน ระหว่างผู้เข้าแข่งต่างๆมาให้ได้ดู

เมื่อผู้เข้าแข่งขันเหลือ 5 คน โอกาสที่เกมจะพลิกแบบคาดไม่ถึงก็จะเกิดขึ้นอีก แต่จะมีให้ลุ้นมากขึ้นหน่อย เพราะการแข่งขันช่วงท้ายๆนี้จะวัดกันที่ความสามารถ มากกว่าดวง
และถึงที่สุด คำตัดสินชี้ขาด เลือกผู้ชนะ จะมาจากผู้ร่วมแข่งขัน 7 คน จาก 9 คนสุดท้าย
นั่นหมายถึง การได้รับความยอมรับนับถือจากเพื่อน น่าจะเป็นประเด็นชี้ขาด

Survivor ออกอากาศมาแล้วร่วมๆ 10 ฤดูกาล และผู้ชนะในบางฤดูกาลมีพฤติกรรมการแข่งขันที่น่ารังเกียจพอสมควร หมายถึงว่า มันเป็นชัยชนะที่มาจากการหักหลังเพื่อนเป็นส่วนใหญ่ คณะลูกขุนต้องจำใจโหวตให้ เพราะในกติกาของเกม ไม่มีระบุการงดออกเสียง
เหตุผลจึงเป็นแค่ เกลียดคนนี้น้อยกว่าอีกคนหนึ่ง
บรรยายได้ง่ายๆ ประมาณว่า ยี้ต่อยี้เจอกันก็บรรลัย ยี้หนึ่งไป ยี้หนึ่งอยู่ คู่ฟ้าดิน

Survivor ฉายภาพการแข่งขัน พละกำลัง การทำงานเป็นทีม มิตรภาพ สัมพันธภาพ การยอมรับ กำลังใจ ความรัก นํ้าใจ ควบคู่ไปกับฉากตอนของความโลภ เห็นแก่ตัว เกรี้ยวกราด โกรธแค้น ลุ่มหลง ความเฉลียวฉลาดในการมองหาโอกาส ปฏิเสธและถูกปฏิเสธ โกหก หักหลัง ความเจ็บปวด ฯลฯ มันจึงเป็น reality show ที่ดูจริงจัง และด้วยความสามารถในการตัดต่อ บางครั้งดูเหมือนเรื่องราวที่เกินขึ้นเป็นการปรุงแต่ง กระทั่งชี้นำ
จนกระทั่ง บางทีเราคนดูทางบ้านก็ต้องเตือนตัวเองไปด้วย ว่า เฮ้ย - ตัดต่อ ...นั่นน่ะ มาจากการตัดต่อ เขาจงใจเสี้ยมเขาโคให้ชนกัน

โดยรวมๆแล้ว Survivor เป็น Reality Show ที่สนุก น่าติดตาม เหมือนดูเกมโชว์ที่ไม่ซํ้าซากจำเจ พร้อมๆไปกับ ทำให้เราได้เห็นพฤติกรรมบางด้านของคน
... จนทำให้เราต้องเตือนตัวเองไว้เสมอ ว่าถ้าเลี่ยงได้ละก็ อย่าได้เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ต้อง Outwit Outplay Outlast เลย